เกี่ยวกับชมรม
แนวคิดและแนวทางดำเนินการในการจัดตั้ง “ชมรมดุษฎีบัณฑิตกาญจนาภิเษก” (ชื่อเดิม)
ความเป็นมา:
เนื่องจาก ในปี 2554 โครงการ คปก. ได้ดำเนินการมากกว่า 12 ปี และมีดุษฎีบัณฑิตที่จบจากโครงการนี้ไปแล้วเกินกว่า 1,500 คน ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่การงานรับผิดชอบที่สูงและสามารถปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาการศึกษาและงานวิจัยของประเทศให้ดีขึ้น หากศิษย์เก่า คปก. สามารถที่จะรวมตัวกันและจัดกิจกรรมร่วมกันได้ ก็น่าจะทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างยิ่งต่อวงการศึกษา วงการวิจัยและด้านอื่นๆ ในการพัฒนาประเทศไทยโดยรวม
ผู้อำนวยการ คปก. (ศ.ดร. อมเรศ ภูมิรัตน) มีแนวคิดในการจัดตั้ง “ชมรมดุษฎีบัณฑิตกาญจนาภิเษก” จึงได้จัดประชุม โดยเชิญตัวแทนดุษฎีบัณฑิต คปก. เข้าร่วม เพื่อหาตัวแทน หรืออาสาสมัคร ที่สนใจจะเป็นคณะทำงานจัดตั้งชมรมฯ ซึ่งมีการประชุมหลายครั้ง และในที่ประชุมมีความเห็นให้เปลี่ยนชื่อชมรมเป็น “ชมรมนักเรียนทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก” ต่อมา ในวันที่ 2 เมษายน 2554 มีการประชุม เรื่อง การก่อตั้งชมรมศิษย์เก่า คปก. ในงานประชุมวิชาการ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ครั้งที่ 12 (RGJ-Ph.D. Congress XII) โดยมีตัวแทนดุษฎีบัณฑิต คปก. เข้าร่วมประชุม และได้จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการจัดตั้ง “ชมรมนักเรียนทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก” ขึ้นสำเร็จ
วัตถุประสงค์
-
เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และกิจกรรมของศิษย์เก่าคปก. นักศึกษาที่ได้รับทุน และคณาจารย์
-
เพื่อสร้างความร่วมมือ ส่งเสริม และสนับสนุนการทำวิจัยของศิษย์เก่าคปก. ในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้เกิดความเข้มแข็ง
-
เพื่อเผยแพร่เกียรติประวัติของโครงการคปก. และศิษย์เก่าที่ทำประโยชน์ให้สังคมและประเทศ
โครงสร้างชมรม
พันธกิจของชมรม
ด้านวิชาการ
- จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมอื่น ๆ ทางวิชาการ
- การเขียนบทความทางวิชาการ
- การเขียนโครงร่างเพื่อขอทุนวิจัยประเภทต่างๆ
- การเตรียมตัวเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ฯลฯ
- สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศิษย์เก่าในภาคเอกชน และภาครัฐบาล
- จัดเวทีเสวนา เล่าประสบการณ์รุ่นพี่พบรุ่นน้องเพื่อแนะนำทางวิชาการ
ด้านสังคม
- อบรมกระบวนการทำวิจัยสำหรับครู/ ข้าราชการในต่างจังหวัด
- ถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
- ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลเรื่องโอกาสทางการศึกษาต่อผู้ที่สนใจ
ด้านเครือข่าย
- ปรับปรุงฐานข้อมูลศิษย์เก่า คปก. จัดตั้งช่องทางในการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้เชิงวิชาการและช่วยเหลือสังคม
- จัดงานคืนสู่เหย้า
- จัดสันทนาการ เช่น แค้มปิ้ง โบว์ลิ่ง แรลลี เป็นต้น